วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บรรยากาศแห่เทียน ร.ร.ทบอ.บูรณวิทยา

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 53 ที่ผ่านมา ร.ร.กองทัพบกฯ บูรณวิทยา ใช้ชั่วโมงลูกเสือร่วมกัน



น้องแป้ง กับ น้องเดือน ป.6 ทำหน้าที่ "นางเทียนพร้อมแล้วค่ะ"
วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม 53 นำต้นเทียนไปถวายวัดถ้ำสิงโตทอง
อ.จอมบึงจ.ราชบุรี จัดตัวแทยห้องละ 2 คนตั้งแต่ ป.1- ม.3 รวม 40 คน
ครูและทหาร อีก 16 คนร่วมเป็นตัวแทน







งานนี้ผู้มีติตศรัทธาร่วมทำบุญเป็นเงิน 17,540.25 บาท สาธุ..สาธุ
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เครือข่ายคุณธรรมในสถานศึกษา

โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์บูรณวิทยาได้ส่งครู จำนวน 8 ท่าน เข้าร่วมการอบรมการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมภายในสถานศึกษา เมื่อกลางเดือนมิถุนายน
บัดนี้คุณครูทั้ง 8 ท่านไ
ด้นำความรู้ที่ได้รับ กลับมาขยายผลภายในโรงเรียน

ตอนนี้..โรงเรียนแห่งนี้ จะมีการหมุนเวียน ครูมาอบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในเวลาเช้าหลังเคารพธงชาติ
และก่อนเรียนทุกรายวิชา อย่างน้อย 5 นาที เพื่อปรับคลื่นสมองให้พร้อมรับการเรียน


ต้องขอขอบคุณ ผู้บริหารโรงเรียนสมัยนั้นที่ีเห็นความสำคัญของการสร้างคนดี ครูทั้ง 8 คน จึงได้ไปอบรมที่ ดี ดี และกลับมาทำกิจกรรมดี ๆ

















อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทำความดีถวายในหลวงที่ บูรณวิทยา



วันที่ 6 กรกฎาคม 2553
โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ได้จัดโครงการทำความดีถวายในหลวง ด้วยการบริจาคโลหิต ณอาคารสายใยรักฯ ตั้งแต่เวลา 09.00-12.30 น. โดยรถหน่วยเคลื่อนที่ขอ
งโรงพยาบาลราชบุรี
มีบุคคลหลายฝ่ายให้การสนับสนุนมาบริจาค เช่น ผู้ปกครอง ทหาร พระ-เณร ฯ ล ฯ
ได้ผู้บริจาค 44 ราย คิดเป็น 15400 ซี
ซี
ผู้บริจาคร่างกาย และอวัยวะ อีก 12 ราย

มาชมภาพกันดีกว่าค่ะ

ีี่นักเรียนกลุ่มจิตอาสารับลงทะเบียน


กำลังใจจากกาชาด















หน่วยงานอ่ื่น ๆ ก็มาร่วมด้วย



อนุโมทนาบุญกันทุกคน
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระเบิดเวลาลูกใหญ่ของสังคมไทย

มุมมอง...ธัญญา ศิโรรัตน์ธัญโชค

ระเบิดเวลาลูกใหญ่ของสังคมไทย

ผมถือว่าปัญหาเด็ก และเยาวชน เป็นเรื่องใหญ่ของสังคมและครอบครัว หากไม่มีการจัดการแก้ไขกันอย่างถูกต้องให้ถึงรากเหง้าของปัญหา ก็อาจจะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ของสังคมไทยในอนาคตได้

เพราะเด็กวันนี้ ก็คือผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เหมือนกับพวกเด็กๆเมื่อ 35 ถึง 60 กว่าปีที่แล้ว ที่กำลังออกลาย อาละวาดทำร้ายทำลายเศรษฐกิจ สังคมและความสงบสุขของประเทศไทย แย่งชิงอำนาจทางการเมืองอย่างไร้ยางอาย ไม่เกรงกลัวชั่วบาปกันอยู่ในเวลานี้

ไม่น่าเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อครับ เมื่อสถาบันรามจิตติ(2553) รายงานผลการวิจัยว่า ตลอดปี 2552 มีเด็กสาวอายุต่ำกว่า 19 ปี ทำคลอดถึง 6.9 หมื่นราย คิดเฉลี่ยวันละ 190 ราย

ที่น่าเศร้าใจก็คือ ในจำนวนนี้ มีทั้งเด็กหญิงและนางสาวที่ยังอยู่ในวัยเรียนระดับมัธยมตอนต้นและตอนปลาย ในโรงเรียนอาชีวศึกษาและสามัญศึกษา ตลอดจนระดับอุดมศึกษารวมอยู่ด้วย และเด็กอาชีวะกับเด็กระดับอุดมศึกษาถึง 37 เปอร์เซ็นต์ ก็ยอมรับว่าเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว

แน่นอนครับว่า เมื่อเด็กตั้งครรภ์ อนาคตทางการเรียนก็จำต้องหยุดชะงักลง 1-2 ปี เป็นอย่างน้อย เพราะคงไม่มีโรงเรียนหรือสถานศึกษาแห่งไหนยอมให้เด็กอุ้มท้องเข้าไปนั่งเรียนอวดสายตาเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนแน่
แม้ว่าจะมีการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน.รองรับ แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าไปเรียนได้อย่างต่อเนื่องในบัดดล เพราะถ้าเด็กอายุไม่ถึง 15 ปี หรือออกไปไม่ถูกจังหวะเวลาที่เขาเปิดรับสมัคร ก็คงต้องอุ้มท้องรอไปก่อน

ถึงคลอดลูกแล้วก็อย่าหวังว่า จะได้กลับเข้าไปเรียนร่วมกับเพื่อนๆได้ตามปกติ เหมือนกับตอนที่ยังเป็นเด็กหญิง หรือนางสาวคิกขุอาโนเนะ ไร้เดียงสาดังแต่ก่อน

ส่วนใหญ่โรงเรียนประเภทสามัญศึกษาก็ต้องขอร้องให้เด็กลาออก เชิญให้ออก หรือไล่ออกตั้งแต่เริ่มรับรู้ว่าเด็กจับคู่มีเพศสัมพันธ์ หรือเมื่อรู้ว่าเด็กเริ่มตั้งครรภ์แล้ว

เพราะถ้าไม่ให้ออกก็ต้องคอยตอบคำถามผู้ปกครองเด็กคนอื่นๆ และต้องทนรับฟังเสียงเล่าลือถึงกิตติศัพท์ฉาวโฉ่ทางเพศของลูกศิษย์ให้ได้

สุดท้ายเด็กบางคนก็จะกลายเป็นเหยื่อลมปากของเพื่อนร่วมสถาบัน บางรายก็เลยกลายเป็นเด็กใจแตกใจง่ายเป็นเหยื่อของนักล่าสวาททั้งในและนอกโรงเรียน หรือไม่ก็แปรผันตัวเองเป็นนักเก็บสถิติอันไม่พึงประสงค์ โดยที่อาจจะเต็มใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็เป็นได้

ถ้าลูกหลานใครต้องตกอยู่ในชะตากรรมเช่นนี้ ก็นับว่าน่าเวทนาสงสารเป็นอย่างยิ่ง
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเหตุเหล่านี้หรือเปล่า ที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในกระทรวงสาธารณสุข จึงชง(ร่าง)พระราชบัญญัติคุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์ พ.ศ..... เสนอท่านรัฐมนตรีจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ พิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรี ออกเป็นกฎหมายรับรองสิทธิของทุกคนที่จะต้องมีอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดี

และยังช่วยป้องกันการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆของหญิงมีครรภ์ด้วย ซึ่งหากมองโดยมุมของหลักสิทธิมนุษยชน ก็นับว่าเป็นหลักการที่ดี

แต่หลายคนก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจ ในสาระบัญญัติแห่งมาตรา 12 ที่ว่า “ในกรณีที่ สถานศึกษา มีหญิงมีครรภ์ ที่อยู่ในระหว่างศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาต้องอนุญาตให้หญิงมีครรภ์ ศึกษาต่อในระหว่างตั้งครรภ์ และกลับมาศึกษาต่อได้ภายหลังคลอดบุตรแล้ว”

อันนี้รู้สึกว่าครูอาจารย์ รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะช็อกครับ ยอมรับกันไม่ค่อยได้

แม้กระทั่งนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ก็ยังแทงกั๊ก โดยออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน(มติชน 9 ก.ค.2553)ว่า “เรื่องนี้ทาง ศธ.กำลังติดตามอยู่ ซึ่งที่ผ่านมา ศธ.เน้นเรื่องของมาตรการป้องกัน เพราะตัวเลขของนักเรียนที่ประสบปัญหาดังกล่าวมีเพิ่มขึ้นทุกปี”

ท่านรัฐมนตรี ชินวรณ์ บอกด้วยครับว่า ที่ผ่านมาได้เข้าไปดูแลเรื่องหลักสูตรของวิชาเพศศึกษาให้เหมาะสมแต่ละวัย ซึ่งก็ตรงกับสาระบัญญัติมาตราที่ 7 แห่งร่าง พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวที่ ให้สถานศึกษาจัดให้มีการสอนเพศศึกษาอย่างถูกต้องเหมาะสมกับวุฒิภาวะและวัยของผู้เรียน

แต่...โปรดย้อนกลับไปอ่านคำให้สัมภาษณ์ของท่านรัฐมนตรีชินวรณ์ที่ย่อหน้าแรก โดยเฉพาะวรรคท้ายในเครื่องหมายคำพูดอีกครั้ง ว่าทำไมท่านรัฐมนตรีถึงอิดออดไม่ยอมรับลูกเรื่อง นี้ในฉับพลันทันที

พูดให้ชัดคือ กระทรวงศึกษาธิการกำลังประสบกับความล้มเหลว ในมาตรการป้องกันหรือการใช้หลักสูตรเพศศึกษาในโรงเรียน ใช่หรือไม่ ? จำนวนตัวเลขของนักเรียนที่ประสบปัญหาจึงเพิ่มขึ้นทุกปี

ขนาดท่านรัฐมนตรีมีครูและผู้บริหารสถานศึกษาราว 6-7 แสนคนอยู่ในมือเด็ก(หญิง)ยังยับเยิน แล้วกระทรวงคุณหมอมียาดีอะไรไม่ทราบ จึงกล้าหาญชาญชัยออกกฎหมายมารับรองสิทธิเด็ก(หญิง)ที่ตั้งครรภ์ แบบเตะทิ้งขนบธรรมเนียมประเพณีทางการศึกษา

ซึ่งถือปฏิบัติกันมาแต่เดิมว่านักเรียนนักศึกษาต้องมีสถานะภาพโสด ไม่มีครอบครัว ไม่มีลูกมากวนตัว มีผัวมีเมียมากวนใจในระหว่างวัยเรียน

ผมไม่ได้มีจิตเจตนาที่จะละเลยสิทธิในความเป็นมนุษย์ สิทธิที่จะต้องได้เรียน ได้รับการคุ้มครองของเด็ก(หญิง)แต่ประการใดนะครับ แต่สิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องมีกรอบขอบเขตที่ถูกต้องเหมาะสม ปัญหาและผลกระทบจึงจะไม่เกิดทั้งกับตัวบุคคล สังคมและระบบ

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเคยตรัสสอนไว้ว่า ...สิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยนี้ต้อง “พอสมควร”...

ในหนังสือ “ดอนบอสโก นักอบรม” ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงในการช่วยเหลือบรรดาเด็กและเยาวชนชาย หญิงให้พ้นจากความเสื่อมทรามของสังคมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็กล่าวไว้ว่า
“การอบรมที่มุ่งแต่ด้านวิชาการ ศิลปะและความก้าวหน้าฝ่ายร่างกาย โดยละเว้นด้านศีลธรรม ฤทธิกุศล และอิสรภาพอันมีขอบเขต จะนำความพินาศมาสู่มนุษย์ ครอบครัวและประเทศชาติอย่างไม่ต้องสงสัย”

ผมไม่อยากกล่าวหาหรอกครับว่า ที่การศึกษาไทยล้มเหลวจมปลักมาถึงทุกวันนี้ ก็เพราะคนของพรรคประชาธิปัตย์ครองเก้าอี้กระทรวงนี้อยู่มากกว่า 20 ปี มาเจอะพรรคชาติไทยหักไม้เรียวซ้ำ

และพรรคไทยรักไทยของคุณทักษิณ ขยี้ซ้ำจนช้ำเลือดช้ำหนอง เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามเกณฑ์เป็นหมื่นเป็นแสนคน ซึ่งผลของฝีหนองกำลังแตกเละให้เห็นอยู่ในเวลานี้

อย่าพึ่งเที่ยวไปเอาอย่างสิงคโปร์ หรือประเทศที่การศึกษาและคนของเขาได้รับการพัฒนาดีถึงระดับหนึ่งแล้ว มาเปรียบเทียบกับเด็ก เยาวชนและสังคมไทยในเวลานี้นะครับ ผมขอร้องล่ะ...

ลองนึกภาพดูสิครับ ประเทศและสังคมไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร ถ้าหากผู้ใหญ่ในอนาคตวันนี้ ยังเป็นเด็กที่ไม่เอาถ่าน อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดไม่เป็น แถมเป็นเด็กที่มีปัญหา เป็นแม่เป็นพ่อที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่เลี้ยงลูกไม่ถูกต้อง อบรมลูกไม่เป็นเท่านั้น แต่ทว่าตัวเองก็ยังเอาไม่รอดด้วย ซักถุงเท้า-ชุดชั้นในเองเป็นหรือเปล่าก็ยังไม่รู้เลยครับ

แต่จะว่าไปแล้ว หันกลับมาโทษผู้ใหญ่อย่างเราๆกันเองดีกว่าครับ เพราะเด็กก็คือเด็ก ถ้าผู้ใหญ่เป็นพ่อปูแม่ปู เด็กก็เป็นลูกปู ถ้าครูบาอาจารย์เป็นได้แค่ชะนี ไม่ได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนเด็กทั้งความรู้และคุณธรรม และปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี แล้วใครล่ะครับ! จะเป็นผู้อบรมเด็กให้เป็นคนดีได้
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คนไทย-ราชบุรี เตรียมต้อนรับพระธาตุ นักบุญยอห์น บอสโก

     ซิสเตอร์นิภา กู้ทรัพย์ จิตตาธิการผู้ร่วมงานฯได้ประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาและผู้ร่วมงานซาเลเซียนบ้านนารีวุฒิ โดยแจ้งให้ทราบถึงกำหนดการต้อนรับพระธาตุของนักบุญยอห์น บอสโก ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระศาสนจักรให้เป็น “บิดาแห่งเด็กกำพร้า” หรือ ที่สมญานามที่รู้จักกันทั่วโลกว่า “บิดา อาจารย์และเพื่อนของเยาวชน” เนื่องในช่วง คศ.1846 –1888 นักบุญยอห์น บอสโก ได้เริ่มงานให้การช่วยเหลือเด็กกำพร้า เยาวชนที่ยากจนและถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนมากกว่า 700 คนให้พ้นจากการเป็นเหยื่อของความเสื่อมทรามทางด้านศีลธรรม การกดขี่เอาเปรียบจากนายจ้างที่ใช้แรงงานเด็ก รับอุปการะให้ที่พักอาศัยที่อาศัย การศึกษาและการอบรมทั้งทางด้านศีลธรรม คุณธรรม การฝึกทักษะอาชีพ ทำให้เด็กเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตขึ้นและอุทิศตนเป็นนักบวชตามจิตตารมณ์ของท่านนักบุญยอห์น บอสโก จำนวนมาก ซึ่งท่านได้ก่อตั้งคณะนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์         คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์(นักบวชหญิง-ซิสเตอร์) และคณะผู้ร่วมงานซาเลเซียน ซึ่งเป็นฆราวาสที่อุทิศตนทำงานร่วมกับท่านในกิจการเพื่อช่วยเด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ให้รอดพ้นจากบาปและการผจญล่อลวงต่างๆ และด้วยความเสียสละอุทิศชีวิตและการงานของท่านเพื่อเด็กและเยาวชนด้วยความรักอย่างจริงใจ ทำให้ท่านได้รับพระพรเป็นพิเศษจากพระเป็นเจ้า ให้บรรลุถึงความศักดิ์สิทธ์ตามพระคริสตธรรม และเป็นที่เคารพรักของสมาชิก ศิษย์เก่าซาเลเซียนทั่วโลกทั้งที่เป็นคริสตชนและพุทธศาสนิกชน


           และเป็นโอกาสดีที่ปลายปีนี้จะมีการอัญเชิญพระธาตุของนักบุญยอห์น บอสโก
จากเมืองตุริน ประเทศอิตาลี ไปทั่วโลกเพื่อให้ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาได้คารวะและรำลึกถึงคุณความดีของท่าน สำหรับประเทศไทย ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 พระธาตุจะเดินทางมาถึง สนามบินสุวรรณภูมิ มีพิธีต้อนรับที่สนามบิน และอัญเชิญพระธาตุเข้าสู่โบสถ์นักบุญยอห์น บอสโก
ที่กรุงเทพฯ ประกอบพิธีต้อนรับพระธาตุ ด้วยการเชิญมุขนายกทุกองค์ทุกมิสซังในประเทศไทยร่วมพิธี
พระธาตุจะตั้งที่โบสถ์แห่งนี้สองคืน จากนั้น วันที่ 20 พฤศจิกายนพระธาตุถูกอัญเชิญโดย รถยนต์ไปยังโบสถ์นักบุญยอแซฟ บ้านโป่ง (ติดกับโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย) อ.บ้านโป่งจ.ราชบุรี และจะตั้งไว้ให้ประชาชนได้คารวะสองคืน วันที่ 22 พฤศจิกายน พระธาตุ ถูกอัญเชิญไปยังอาสนวิหารแม่พระบังเกิด
ที่บางนกแขวก จ.สมุทรสงคราม วันที่ 23 พฤศจิกายน พระธาตุ ถูกอัญเชิญไปยังโรงเรียหัวหินวิทยาลัย จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 24 พฤศจิกายน พระธาตุถูกอัญเชิญไปยัง อาสนวิหารมิสซังคาทอลิกเขตสุราษฎร์ธานี (โดยแวะห้วยยาง)  วันที่ 25 พฤศจิกายน พระธาตุถูกอัญเชิญไปยัง โรงเรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ จ. สงขลา  วันที่ 26 พฤศจิกายน พระธาตุถูกอัญเชิญโดย เครื่องบินไปยังโรงเรียนดอนบอสโก วิทยา ที่จังหวัดอุดรธานี  วันที่ 27 พฤศจิกายน พระธาตุถูกอัญเชิญโดย รถยนต์ไปยังหมู่คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ที่สามพราน จังหวัดนครปฐม และพิธีอำลาพระธาตุที่สามพรานสำหรับสัตบุรุษ วันที่ 29 พฤศจิกายน พระธาตุถูกอัญเชิญมายัง สำนักเจ้าแขวงคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย และมีพิธีอำลาพระธาตุสำหรับเฉพาะหมู่คณะในครอบครัวซาเลเซียนเท่านั้น
        และวันที่ 30 พฤศจิกายน พระธาตุถูกอัญเชิญไปยัง ประเทศกัมพูชาโดยผ่านทางปอยเปต
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเรียนแบบสองภาษา (Bilingual Program)

การเรียนแบบสองภาษา (Bilingual Program)
ประชานิยม หรือ ทางออกการศึกษาไทย
ปัจจุบันกระแสความนิยมของผู้ปกครองในการส่งบุตรลานได้ศึกษา
เล่าเรียนในแผนกสองภาษา หรือแม้แต่การเรียนพิเศษเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ นั้นกำลังมาแรง ทำให้โรงเรียนที่สอนแบบสอง (หรือสาม) ภาษานั้นมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับทั้งในกรุงเทพฯ และในภูมิภาคต่างๆ จนหลายท่านตั้งคำถามขึ้นว่า การเลือกให้บุตรหลานได้เรียนแบบสองภาษาในยุดปัจจุบันนี้จำเป็นหรือไม่ ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร จะมีเงินพอจ่ายหรือเปล่า และหรือการเรียนแบบสองภาษานี้เป็นเพียงกระแส “ประชานิยม” หรือว่ามันเป็น “ทางออกของการศึกษาไทย” ในอนาคตอันใกล้นี้
ส่วนหนึ่งของกระแสความนิยมการเรียนการสอนแบบสองภาษาที่เพิ่มมากขึ้นนั้น มาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของสังคมโลกาภิวัตน์ อีกทั้งทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในอนาคต รวมถึงแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects) การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA (Asian Free Trade Area) การติดต่อธุรกิจค้าขายมากขึ้นกับต่างชาติ หรือแม้แต่นโยบายของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำและศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียน (Asian Hub) โดยการมุ่งหวังให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคอาเซียน (Asian Education Hub) เป็นต้น
นอกจากโรงเรียนนานาชาติ (International School) แล้ว สถานศึกษาในประเทศไทยซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual School) อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ประเภทโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program, EP หรือที่เรียกกันว่า Bilingual Program) ในระดับชั้นต่างๆ ประเภทโรงเรียนที่จัดโครงการ Mini English (Bilingual) Program ซึ่งสอนแบบสองภาษาในบางรายวิชา เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หรือวิชาสุขศึกษา เป็นต้น และประเภทโรงเรียนที่จัดโครงการพัฒนาศักยภาพพิเศษแบบเข้มข้นในสาขาวิชาต่างๆ (Intensive Program, IP)
การเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual Education) และการเรียนรู้ภาษา (Language Learning) ต่างกันอย่างไร? การเรียนภาษา เช่น ภาษาอังกฤษนั้นเป็นการเรียนรู้ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ส่วนการเรียนการสอนแบบสองภาษานั้น เป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระวิชาผ่านการใช้ภาษา 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กัน
หลายคนอาจสงสัยหรือสับสนเกี่ยวกับคำที่ใช้ คือ English Program และ Bilingual Program เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? จริงๆ แล้วคำว่า “การศึกษาแบบสองภาษา (Bilingual Education)” เป็นคำสากลที่ใช้กันทั่วโลกแม้ว่าจะถูกตีความหรือแปลความกันไปแตกต่างกัน ส่วนคำว่า “English Program (EP)” นั้นเป็นคำที่ใช้กันในแวดวงการศึกษาไทย ซึ่งหมายความถึง “โรงเรียนสองภาษา (Bilingual School)” หรือว่าโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการแบบหรือ “แผนกสองภาษา (Bilingual Program)” ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้กัน เป็นต้นในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (English as a Second Language) ในการติดต่อสื่อสาร
เหตุที่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual Education) ได้รับความนิยมและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯและส่วนภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 200 แห่ง ก็เพราะการเรียนการสอนแบบสองภาษานี้สามารถ “เติมเต็มช่องว่าง” ระหว่างการเรียนภาษาอังกฤษแบบไทยเดิมๆ และการเรียนโรงเรียนนานาชาติทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งน้อยคนนักจะมีโอกาสได้เรียนเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ด้วยเหตุนี้ ครอบครัวฐานะปานกลางจึงมีความสามารถส่งบุตรหลานเข้าเรียนในแผนกสองภาษาได้ อีกทั้งสมาชิกในครอบครัวก็ยังได้ใกล้ชิดกัน รวมถึงไม่ต้องกังวลใจด้วยว่าบุตรหลานที่ส่งไปศึกษายังต่างประเทศนั้นจะหลงลืมวัฒนธรรมประเพณีไทยไป ฉะนั้น การเรียนการสอนแบบสองภาษาในปัจจุบันจึงเสมือนเป็น “คำตอบ” ของพ่อแม่ยุคใหม่ ที่ต้องการให้บุตรหลานได้เรียนรู้ความเป็นสากลแต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของไทยได้ในขณะเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นการวางฐานอนาคตบุตรหลานให้พร้อมสำหรับสังคมโลกไร้พรหมแดนแห่งอนาคตอันใกล้นี้
สถานศึกษาที่ใช้การเรียนการสอนแบบสองภาษานั้น นักเรียนจะได้เรียนรู้ไปด้วยกันทั้งภาษาแม่ (ภาษาไทย) และภาษาที่สอง (ภาษาอังกฤษ) อีกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษต่างถูกใช้ในการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ฯลฯ ไปพร้อมๆ กัน ดังนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงมั่นใจได้ว่าเมื่อท่านส่งบุตรหลานเข้าเรียนแผนกสองภาษาแล้ว ลูกหลานของท่านมีศักยภาพในการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อีกทั้งเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานซึ่งกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง บุคลากรผู้สอนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติก็ได้รับการคัดสรรและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี และที่สำคัญลูกหลานของท่านมีความสุขและสนุกไปกับบรรยากาศการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
ประโยชน์สำหรับการเรียนแบบสองภาษาโดยอาจารย์ต่างชาติเจ้าของภาษา (Native Speakers) นั้น นอกจากผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเนื้อหาสาระวิชา มีโอกาสฝึกฝนทักษะสำเนียงภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องชัดเจนแล้ว ยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ค่านิยม ความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างนักเรียนและอาจารย์ชาวต่างชาติอีกด้วย เช่น เรื่องอาหารการกิน การแต่งกาย ศิลปะ วรรณกรรม หรือแม้แต่ความเชื่อซึ่งถือเป็นรากฐานของแต่ละวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์อีกทั้งทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ยอมรับ และเคารพความแตกต่างของคนในวัฒนธรรมอื่นได้เป็นอย่างดี
นักเรียนสองภาษามักจะมีข้อได้เปรียบซึ่งแตกต่างจากนักเรียนภาคปกติ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการพูดอ่านเขียนได้สองภาษา ความเข้าใจลึกซึ้งในวัฒนธรรมต่างๆ ได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ การรู้จักสื่อสารอย่างฉลาด มีความมั่นใจในตัวเอง มีความมั่นคงในเอกลักษณ์ของตนเอง สามารถเรียนภาษาที่สามได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเป็นการวางพื้นฐานอนาคตที่มั่นคง การศึกษาต่อ หรือการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เป็นต้น
เหตุใดจึงมักเรียนดนตรีและศิลปะ (Music & Arts) ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนแบบสองภาษา? แท้ที่จริงแล้วการฟัง ร้องเพลง หรือดูภาพยนตร์ภาษาอังกฤษนั้น เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด นอกจากดนตรีและศิลปะช่วยสร้างเสน่ห์ส่วนบุคคลให้กับผู้เรียนแล้ว ยังช่วยฝึกฝนสมาธิ ความมุมานะอดทน ความสามัคคี การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ช่วยขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยน สร้างสรรค์จินตนากร บำบัดสภาวะทางจิตให้สมดุล อีกทั้งพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์สมองอีกด้วย
เด็กวัยใดที่สามารถเริ่มเรียนแบบสองภาษาได้ คำตอบคือ เมื่อเด็กเริ่มหัดพูดก็สามารถเริ่มสอนภาษาได้เลย แต่ช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ช่วง 3-4 ขวบ เพราะเป็นวัยที่เด็กเริ่มพูดและซักถาม เริ่มสนใจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กเล็กจะรับรู้ภาษาได้ง่ายและเป็นธรรมชาติ เรียนรู้ประสบการณ์โดยการวิ่งเล่น กระโดด ระบายสี เล่นกิจกรรมต่างๆ เด็กเล็กจะไม่กังวลถึงข้อผิดพลาดในการใช้ภาษา พวกเด็กสนใจเพียงการสื่อสารข้อมูลให้คนอื่นได้ทราบและการรับรู้ข้อมูลที่พวกเขาต้องการ
มีการคาดการณ์ว่านิสิตจบใหม่ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากรู้เพียง 2 ภาษาแค่นั้นมีโอกาสตกงานสูง ดังนั้น หลายๆ สถานศึกษาในปัจจุบันจึงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาที่สาม เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น ไม่ว่าการเรียนสองภาษาจะเป็นการทำกระแสสังคมหรือไม่ก็ตาม แต่สำหรับนักการศึกษาหลายๆ คนแล้ว นี่คือโอกาสและทางเลือกสำคัญของการศึกษาไทยในยุคปัจจุบันและอนาคต นี่อาจเป็นคำตอบหรือทางออกของวังวนการศึกษาของประเทศไทย
และนี่คือ การเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual Education) การศึกษาทางเลือกของคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกลสำหรับบุตรหลานในอนาคต
โดย บาทหลวงสมเกียรติ จูรอด
ผู้จัดการโรงเรียนดรุณากาญจนบุรี
อ่านต่อ >>